วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

"มะเมียะ"


"มะเมียะ"

มะเมียะ เรื่อง ราวความรักที่ต่างเชื้อชาติ ระหว่างเจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ อันกลายมาเป็นตำนานรักที่จบลงอย่างโศกสลด และได้รับการกล่าวขานมาถึงปัจจุบัน ถูกถ่ายทอดโดยเจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม อดีตคู่หมั้นของเจ้าน้อยศุขเกษม) แม้ว่ามะเมียะจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ล้านนาโดยตรง แต่สำหรับเจ้า (น้อย) ศุขเกษม ราชบุตรองค์ใหญ่ของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๔๕๒-๒๔๘๒) กับแม่เจ้าจามรีแล้ว มะเมียะเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของเจ้าน้อยฯ ก็ว่าได้

มะ เมียะเป็นแม่ค้าสาวชาวพม่า หน้าตาพริ้มเพรา ได้พบกับเจ้าน้อยศุขเกษมครั้งแรก เมื่ออายุเพียง ๑๖ ปี
ขณะ นั้นมะเมียะเป็นเพียงแม่ค้าขายบุหรี่ซะเล็กอยู่ที่ตลาดใกล้บ้านในเมืองมะละ แหม่ง มะเมียะหารายได้ด้วยความหวังเพื่อจะได้เงินมาจุนเจือครอบครัว ซึ่งอยู่ในฐานะปานกลาง วันหนึ่งเมื่อเจ้าน้อยศุขเกษมได้ออกเดินเที่ยวตามห้างร้านในตลาด จึงได้พบกับมะเมียะ
ซึ่งเพิ่งกลับมาจากเมืองตองอู หลังจากไปอาศัยอยู่กับป้าของเธอเป็นเวลาหลายปี ทั้งคู่เกิดถูกใจในกันและกัน จึงได้คบหากันเรื่อยมา หลังจากนั้นไม่นานทั้งสองจึงใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา ด้วยความสนับสนุนของทางบ้านของมะเมียะ
และในวันพระทั้งสองจะพากันไปทำบุญตักบาตรและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุตามสถานที่ต่างๆ ในเมืองมะละแหม่งอยู่เสมอ
วันหนึ่ง ณ ลานกว้างหน้าพระธาตุใจ้ตะหลั่น ทั้งสองได้กล่าวคำสาบานต่อกันว่าจะรักกันตลอดไป และจะไม่ทอดทิ้งกัน
หาก ผู้ใดทรยศต่อความรักที่มีให้กัน ก็ขอให้ผู้นั้นอายุสั้น จากนั้นไม่นานก็ถึงกำหนดการเดินทางกลับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเจ้าน้อยฯ
เพิ่งจะมีอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้ตัดสินใจให้มะเมียะปลอมตัวเป็นชายติดตามขบวนเพื่อกลับไปยังเมืองเชียงใหม่
ใน ฐานะเพื่อนหนุ่มชาวพม่า โดยหารู้ไม่ว่าเจ้าพ่อและเจ้าแม่ของตนได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวล ธิดาของเจ้า สุริยวงษ์ (คำตัน สิโรรส) ให้เป็นคู่หมั้นของเจ้าน้อยฯ เป็นการภายในตั้งแต่ปีที่เจ้าน้อยฯ เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในเมืองพม่า หลังจากที่ต้องแอบซ่อนมะเมียะไว้ในบ้านหลังเล็ก ที่เจ้าพ่อและเจ้าแม่จัดเตรียมไว้ให้เป็นที่พักมาแล้วหลายวั
เจ้า น้อยศุขเกษมได้ใช้เวลาคิดใคร่ครวญและตัดสินใจเล่าความจริงให้ทั้งสองฟัง แม้ว่าจะไม่มีคำใดเอื้อนเอ่ยออกมาในขณะนั้น
แต่เจ้าน้อยฯ ก็พอจะทราบได้ว่าทั้งสองไม่ยอมรับมะเมียะเป็นศรีสะใภ้อย่างแน่นอนเนื่องจาก ปัญหาใหญ่ในขณะนั้น
คือ เจ้าน้อยเป็นผู้ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะได้รับตำแหน่งเจ้าหลวงองค์ถัดไป จากเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ ซึ่งเป็นพระเจ้าลุง
หากเจ้าน้อยฯ เลือกมะเมียะมาเป็นศรีภรรยา ประชาชนย่อมต้องเกิดความอึดอัดใจในการยอมรับมะเมียะผู้เป็นหญิงต่างชาติมา
ดำรงฐานะศรีภรรยาของเจ้าเมืองอย่างแน่นอน
ใน สถานการณบ้านเมืองขณะนั้นน่าวิตกมาก เนื่องจากมหาอำนาจอังกฤษกำลังแผ่อิทธิพลไปทั่วดินแดนในคาบสมุทรเอเซียตะวัน ออกเฉียงใต้ มะเมียะซึ่งเป็นคนในบังคับของอังกฤษและกำลังอาศัยอยู่ในคุ้มของอุปราช (ขณะนั้นเจ้าแก้วนวรัฐดำรงตำแหน่งอุปราชเมืองเชียงใหม่) อาจเป็นชนวนของปัญหาทางการเมืองที่ใหญ่โตได้ในภายหลัง
ในที่สุดเจ้าพ่อและเจ้าแม่จึงเรียกตัวเจ้าน้อยฯไปพบ และยื่นคำขาดให้เจ้าน้อยส่งตัวมะเมียะกลับเมืองมะละแหม่ง
เพื่อ ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมือง ในยามเย็นวันนั้นเอง เจ้าน้อยได้เข้าพิธีเรียกขวัญและรดน้ำมนตที่เจ้าพ่อกับเจ้าแม่จัดขึ้น
เพื่อขจัดสิ่งชั่วร้ายที่ท่านทั้งสองเชื่อว่ามะเมียะได้กระทำแก่เจ้าน้อยฯ อันเป็นเหตุให้เจ้าน้อยฯ หลงไหลในตัวนาง
หลังจากพิธีรดน้ำมนต์ผ่านพ้นไป
ช้างพาหนะและไพร่พลที่จะใช้ในการส่งตัวมะเมียะกลับเมืองมะละแหม่งก็ถูกจัดเตรียมทันทีตามคำสั่งของเจ้าแก้วนวรัฐ
เมื่อเจ้าน้อยฯ กลับไปถึงที่พักในคืนนั้น มะเมียะได้รับการเกลี้ยกล่อมโดยหญิง-ชาย ชาวพม่าฝ่ายละคน
ให้นางกลับไปรอเจ้าน้อยฯ ที่เมืองมะละแหม่ง มิฉะนั้นบ้านเมืองอาจเดือดร้อน
นางได้เอ่ยขึ้นด้วยความเสียใจและยินยอมจากไปเพื่อมิให้ผู้ใดได้รับความเดือดร้อน
แม้ตัวนางจะจากไกล แต่ความรักอันมั่นคง ยังคงอยู่ดังคำสาบานที่เคยให้ไว้แก่กันและกัน
ฝ่ายเจ้าน้อยฯ ยังคงยืนยันในความรักที่มีต่อมะเมียะ และขอให้นางกลับไปรอที่บ้านก่อน
หากมีวาสนาจะกลับไปรับนางมาอยู่ด้วยกันที่เชียงใหม่ให้ได้
ใน เช้าวันหนึ่งของเดือนเมษายน นับเป็นวันเดินทางกลับเมืองมะละแหม่งของมะเมียะที่ดูเหมือนจะเป็นการจากลา ชั่วนิรันดร์
ณ ประตูหายยาที่เนืองแน่นไปด้วยประชาชนที่ใคร่เห็นโฉมหน้าของมะเมียะ ที่ลือกันว่างามนักงามหนา
บรรยากาศ เต็มไปด้วยความหดหู่และเศร้าหมอง เมื่อเจ้าน้อยฯ พูดภาษาพม่ากับมะเมียะได้เพียงไม่กี่คำ นางผู้มีใจรักมั่นได้ร่ำไห้ด้วยความอัดอั้นตันใจ ในอ้อมแขนที่ยากจะแยกจากกันได้ เวลานั้นก็ล่วงเลยไปมากแล้ว
เจ้าน้อยฯ ได้รับปากกับมะเมียะว่าตนจะยึดมั่นในคำปฏิญาณที่ให้ไว้ต่อหน้าพระพุทธรูปวัด ใจ้ตะหลั่นจนกว่าชีวิตจะหาไม่
หากท่านนอกใจมะเมียะโดยสมรสกับหญิงอื่น ขอให้ชีวิตของตนประสบแต่ความทุกข์ทรมานใจ แม้แต่อายุก็จะไม่ยืนยาว
เจ้า น้อยฯ ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าภายใน เดือนจะกลับไปหามะเมียะให้จงได้ นางจึงคุกเข่าลงกับพื้น ก้มหน้า สยายผมออกเช็ดเท้าเจ้าน้อยฯ ด้วยความอาลัยหา ก่อนที่เธอจะขึ้นไปบนกูบช้าง เมื่อกลับไปถึงเมืองมะละแหม่งแล้ว มะเมียะได้มอบเงินทองจำนวนหนึ่งซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐและเจ้าแม่จามรีมอบให้นาง ก่อนเดินทางกลับเป็นการปลอบขวัญแก่พ่อแม่และน้อง จากนั้นนางได้แต่เฝ้ารอคอยเจ้าน้อยฯ จนครบกำหนด เดือนที่ท่านได้รับปากไว้ แต่นี่กระไรกลับไร้วี่แววใดๆ มะเมียะจึงตัดสินใจเข้าพึ่งใต้ร่มพุทธจักร
ครองตนเป็นแม่ชีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ว่านางยังซื่อสัตย์ ต่อความรักที่มีต่อเจ้าน้อยศุขเกษม
หลัง จากที่มะเมียะทราบข่าวการเข้าพิธีมงคลสมรส ระหว่างร้อยตรีเจ้าอุตรการโกศล (ยศของเจ้าน้อยฯ ในขณะนั้น) กับเจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่ แม่ชีมะเมียะจึงเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่และขอเข้าพบเจ้าน้อยฯ เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อแสดงความยินดีกับชีวิตที่กำลังรุ่งโรจน์ องค์อดีตสวามีผู้เป็นที่รัก ก่อนที่ตนจะตัดสินใจครองตนเป็นแม่ชีไปตลอดชีวิต
แต่เจ้าน้อยศุขเกษม ผู้ยึดสุราเป็นที่พึ่งดับความกลัดกลุ้มอันเกิดจากความรักอาลัยในตัวมะเมียะ ชีวิตที่ไม่เคยมีความสุขในชีวิตสมรส ท่านไม่สามารถหักห้ามความสงสารที่มีต่อมะเมียะได้ จึงไม่ยอมลงไปพบแม่ชีมะเมียะตามคำขอร้อง เพียงแต่มอบหมายให้เจ้าบุญสูง
พี่ เลี้ยงคนสนิท นำเงินจำนวน ๘๐บาท ไปมอบให้กับแม่ชีมะเมียะเพื่อใช้ในการทำบุญ พร้อมกับมอบแหวนทับทิมประจำกายอีกวงหนึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าน้อยฯ ให้กับแม่ชีมะเมียะ เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทำให้มะเมียะและเจ้าน้อยต่างสะเทือนใจเป็นที่สุด หลังจากเดินทางถึงเมืองมะละแหม่ง มะเมียะได้ครองชีวิตเป็นแม่ชีตามความตั้งใจ จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.๒๕๐๕ รวมอายุได้ ๗๕ ปี

จาก ตำนานรักระหว่างเจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ ได้รับการเผยแผ่ทั้งโดยการเล่าขานสืบต่อกันมา จากการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว อาจกล่าวได้ว่าสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้คนทั่วไปรู้จักเจ้าน้อยฯ และมะเมียะมากขึ้น
คือ "เพลงมะเมียะ" ซึ่งขับร้องโดย คุณจรัล มโนเพชร นักร้อง โฟลคซองชาวล้านนา

ดังเนื้อเพลง ต่อไปนี้

"มะเมียะ"
มะเมียะเป็นสาวแม่ค้า คนพม่าเมืองมะละแหม่ง
งามล้ำเหมือนเดือนส่องแสง คนมาแย่งหลงรักสาว
มะเมียะบ่ยอมรักไผ มอบใจหื้อหนุ่มเชื้อเจ้า เป็นลูกอุปราชท้าวเชียงใหม่
แต่เมื่อเจ้าชายจบการศึกษา จำต้องลาจากมะเมียะไป
เหมือนโดนมีดสับดาบฟันหัวใจ ปลอมเป็นพ่อชายหนีตามมา
เจ้าชายเป็นราชบุตร แต่สุดที่รักเป็นพม่า ผิดประเพณีสืบมา ต้องร้างลาแยกทาง
โอโอก็เมื่อวันนั้น วันที่ต้องส่งคืนบ้านนาง
เจ้าชายก็จัดขบวนช้างให้ไปส่งนางคืนทั้งน้ำตา
มะเมียะตรอมใจอาลัยขื่นขม ถวายบังคมทูลลา สยายผมลงเช็ดบาทบาทา
ขอลาไปก่อนแล้วชาตินี้เจ้าชายก็ตรอมใจตาย มะเมียะเลยไปบวชชี

ความรักมักเป็นเช่นนี้ แลเฮย.........
   (เรียบเรียงจาก ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง ชีวิตรักเจ้าเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๒๓ และ เพ็ชรลานนา พ.ศ.๒๕๓๘)

มะเมี๊ยะ - โฟล์คซองคำเมือง
 
http://www.youtube.com/watch?v=AIxP5qznixg

link ถ่ายทอดใหม่โดย เอ็ม วัศสัณต์ โดยมีนักร้องรับเชิญ และ ร่วมแสดงในละครสั้น มะเมี๊ยะhttp://www.youtube.com/watch?v=nNlXqBnZFDA&feature=related

น๋นขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก ...you tube, compass Magazinehttp://fayjaa.blogspot.com/



เจ้าน้อยศุขเกษม
เจ้าหญิงบัวนวล ธิดาของเจ้า สุริยวงษ์ (คำตัน สิโรรส) และเจ้าน้อย ศุขเกษม
เจ้าน้อยและพระชายา

สิ่งที่น่ากลัวที่สุด


สิ่งที่ดูน่ากลัว มักจะไม่อันตราย
สิ่งที่อันตราย มักจะดูไม่น่ากลัว

ว่ากันว่า.. ส่วนที่น่ากลัวที่สุดของคนมีความรัก
คือการที่รักกันมาแนบแน่น สวยหรู
โดยไม่เคยมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งเลย
เพราะความสวยงามราบรื่น มันทำให้เรา "วางใจ"
จนอาจลืมไปว่า.. ยังไงๆ เขาก็เป็น "คนอื่น"
ยังไงๆ เขาก็มีหัวใจคนละดวงกับของเรา
สมองคนละก้อน ตัดสินใจได้เอง รู้สึกได้เอง
ว่าจะรัก จะเลิก จะอยู่หรือจะไป
ในเวลาอกหัก ใครจะมาบอกมาพูดอะไรสามวันสามคื
ก็ไม่ช่วยอะไรได้มาก เท่ากับการมีปัญญาขึ้นในใจเราเอง

ถ้าเราเข้าใจได้ว่า คนเราเกิดมาเพื่อพบกัน
เพื่อมีวันเวลาที่ดีด้วยกัน
และเพื่อพรากจากกันในที่สุด ไม่ช้าก็เร็ว
เราก็จะทำใจ และปล่อยวางได้
โดยไม่ต้องการคำอธิบาย หรือตรรกะเหตุผลอะไรมากมาย


เวลาเจอเรื่องแบบนี้
อย่าเสียเวลาถามว่า "ทำไม" ให้มากความ
คิดเสียว่าเขาตายจากชีวิตเราไปแล้ว
คนที่เคยเป็นคนรักแสนดีของเรา เขาไม่อยู่ในโลกของเราแล้ว

ถ้าเรารักเขามากจริงๆ อย่างที่บอกเขาเสมอ
นี่ไง.. สิ่งสุดท้ายที่เราจะให้เขาได้
"ให้อภัย" ไง

คิดเสียว่า เขาจะมีความสุขมากกว่าที่ได้อยู่กับเรา
อวยพรให้เขาโชคดี ในโลกใหม่ของเขา

ไม่ต้องรอเขาหรอกนะ
อย่าไปหวังลมๆแล้งๆ ว่าคนตายแล้วจะฟื้นกลับมา
เพราะมันมีแต่ในหนังแฟรงเก้นสไตน์


และถึงเขาจะกลับมา เชื่อเถอะว่า
ความรู้สึกดีๆ มันจะไม่เหมือนเดิมแล้ว

เขาเลือกทางเดินชีวิตของเขาแล้ว
เขาเริ่มต้นชีวิตใหม่ของเขาแล้ว
เราก็เลือกได้เหมือนกัน
ว่าจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ หรือจมปลักในทุกข์นี้ต่อไป

อยากร้องไห้ก็ร้องแต่พองาม พอให้รู้สึกว่าเรามีเลือดเนื้อ
แต่อย่าร้องจนเสียจิต เหมือนคนคิดสั้น
เพราะถึงเราจะร้องจนน้ำท่วมทุ่งกุลาร้องไห้
ก็ไม่ทำให้อะไรๆกลับมา เหมือนเดิม

เราอาจรู้สึกเหมือนโลกดับ วับหาย
แต่เปล่าหรอก.. ชีวิตเพิ่งจะเริ่มเรียนรู้ความจริง


การเรียนรู้ความรู้สึกของการสูญเสียครั้งใหญ่
เป็นบทเรียนสำคัญของมนุษย์
ที่จะได้สอนตัวเองว่า .. อย่ายึดมั่นถือมั่น
ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป

ทั้งเรา ทั้งเขา ทั้งใครๆ
ทั้งสิ่งนั้น สิ่งนี้ สิ่งไหน
ทั้งโลกนี้ จักรวาล และกาลเวลา

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

วันศุกร์แห่งชาติ

 ใครติดเพื่อนบ้าง...ยกมือขึ้น!!! เชื่อแน่ว่า จะต้องมีเพื่อน ๆ ที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพ์ขณะนี้ยอมรับกันอยู่ในใจแน่ ๆ เลย เพราะเป็นธรรมดาที่วัยรุ่น วัยเรียน วัยทำงาน หรือแม้แต่ในวัยที่มีครอบครัวของตัวเองแล้ว ก็ยังไม่วายติดเพื่อน เป็นต้องออกไปพบปะสังสรรค์กันนอกบ้านเป็นประจำ (ก็มันสนุกนี่นา)
          และหลายครั้งที่ปาร์ตี้ในหมู่เพื่อนกินเวลายามค่ำคืนจนนาฬิกาบอกเวลาก้าวเข้าสู่วันใหม่เข้าไปแล้ว แต่รู้ไหมว่า ในช่วงที่เรากำลังสนุกสนานอยู่นั้น ยังมีคนข้างหลังคอยเป็นห่วงอยู่ที่บ้าน เขาคนนั้นยังนอนไม่หลับแม้จะรู้ว่าวันนั้นคุณจะกลับดึก ด้วยเป็นห่วงว่าคนที่รักยังไม่ถึงบ้านอย่างปลอดภัยนั่นเอง
          ดังเช่นเรื่องราวที่เรานำมาฝากกันวันนี้ จากคุณ ใส่หมวกแก๊ปไปเดินกุ๊บกั๊บ  สมาชิกเว็บไซต์พันทิป ที่บังเอิญได้ยินคำพูดธรรมดาคำหนึ่งของคนเป็นแม่ ในวันที่เขาออกไปสังสรรค์กับเพื่อน ๆ นั่นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาเปลี่ยนใจและเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า...

          เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ก็เป็นธรรมดาของมนุษย์เงินเดือน ที่วันศุกร์แห่งชาติ (และเป็นวันเงินเดือนออก) จะมีการนัดสังสรรค์กันระหว่างเพื่อน ๆ มีดื่ม มีเที่ยว เพราะถือว่าเป็นวันปลดปล่อยของสัปดาห์ หลังจากดื่มได้พอสมควร ก็รวมกลุ่มกันไปโต๊ะสนุ๊กฯ ต่อ กว่าจะได้กลับก็เกือบ ๆ ตีสอง

          กลับมาก็เห็นแม่นอนดูทีวีอยู่ ก็ยังสงสัยว่าทำไมนอนดึกจัง เราก็ง่วงบวกกับมึน ๆ ด้วย ก็เลยเข้านอนเลย ไม่ได้ทักแม่ซักคำ
          รุ่งขึ้นเป็นวันเสาร์ ผมก็ตื่นตั้งแต่เจ็ดโมงเช้า เพราะตื่นเวลานี้เป็นปกติแล้ว (แต่ก็ยังไม่เคยตื่นก่อนแม่ซักที)
          ประโยคแรกที่เราทักแม่ก็คือ "แม่ วันนี้มีอะไรกิน"
          หลังจากกินข้าวเสร็จแล้ว วันนี้ครอบครัวผมมีธุระต้องเข้ากรุงเทพฯ ระหว่างทางแม่ผมก็คุยกับพี่ชายเรื่องทั่ว ๆ ไป ผมก็นั่งอ่านหนังสืออยู่เงียบ ๆ ได้ยินแม่บ่นเรื่องทั่ว ๆ ไป และก็พูดว่า...
          แม่ : วันนี้ง่วงนอนจัง
          พี่ชาย : ไปทำอะไรมาล่ะแม่
          แม่ : ก็ไม่ได้ทำอะไร เมื่อคืนไอ้...(ชื่อผม) มันยังไม่กลับบ้าน แม่ก็นอนไม่หลับ
          ผม : ...........
          จากนั้นเค้าก็คุยกันเรื่องอื่น แต่ประโยคดังกล่าว มันทำให้ผมกลับมาคิดว่า ในวันแรกที่เงินเดือนออก แทนที่เราจะพาคนที่รักและเป็นห่วงเราไปกินข้าว เรากลับเลือกที่จะออกไปสังสรรค์กับเพื่อน ไปกินเหล้า เมายา เล่นการพนัน
          แต่เรากลับทิ้งให้อีกคนหนึ่งที่เป็นห่วงเรา อดนอน เพื่อรอว่าเราจะกลับถึงบ้านโดยปลอดภัยแล้ว เมื่อเรากลับถึงบ้าน เมื่อนั้นแหละ เค้าคนนั้นถึงจะหลับลง
        
          จากเหตุการณ์นี้ทำให้เรานึกย้อนไปถึงครั้งก่อน ๆ ถ้าเรากลับบ้านดึก แม่จะโทรตามทุกครั้ง จะไม่ได้ดุด่าหรือว่าอะไร เพียงแต่จะถามว่า "อยู่ไหน ดึกแล้วนะ พรุ่งนี้ไม่ทำงานหรอ..." เมื่อเรากลับมา ก็จะพบว่าแม่ยังไม่นอนเสมอ ทำให้เราได้ย้อนกลับมาคิดได้ว่า ถึงแม้เราจะเป็นผู้ชาย และอายุก็ไม่ใช่เด็ก ๆ มีหน้าที่การงานแล้ว แต่ด้วยความที่เป็นแม่ ยังไงก็ยังเป็นห่วงลูก ถ้าลูกยังไม่กลับถึงบ้าน ก็อดที่จะห่วงไม่ได้
          วันถัดมาเพื่อนผมก็ชวนออกไปกินสังสรรค์อีก แม่ได้ยินผมคุยโทรศัพท์ในรถ ก็บอกว่า... "ถ้าไม่อยากไปกับเพื่อนก็ปฏิเสธได้ ต้องปฏิเสธคนให้เป็น" (แม่จะรู้นิสัยผมว่าเป็นคนปฏิเสธคนไม่เป็น) ผมจึงตัดสินใจบอกเพื่อนไป
       
          ผม : "วันนี้กรูไม่ไปนะ"
          เพื่อน : "ทำhaอะไร ทำไมถึงไม่มา"
          ผม : "กรูจะพาแม่กรูไปกินข้าว"

          จากเรื่องราวข้างต้นจะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในชีวิตประจำวันของใครหลายคน แต่...เพียงแค่เราหันมาใส่ใจคนใกล้ตัวที่เรามักจะมองข้ามบ้าง ก็จะรับรู้ได้ถึงความรักลึกซึ้งจากคนที่รัก โดยเฉพาะคุณแม่ และนั่นอาจสร้างจุดเปลี่ยน หรือมุมคิดดี ๆ ที่จะทำให้คุณเป็นลูกที่น่ารักขึ้นเป็นกอง

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบร่างสัญญา 400 กว่าแบบ

แบบร่างสัญญา 400 กว่าแบบ ผมคิดว่า มีประโยชน์นะครับ




Part01 ลิ้งดาวน์โหลด  : http://www.mediafire.com/?1yoshww4hs2em10

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

พ่อแม่รังแกฉัน (บาป ๑๔ ประการของมารดาบิดา)

พ่อแม่รังแกฉัน (บาป ๑๔ ประการของมารดาบิดา)

พ่อแม่บางคน (๑)
    ทำร้ายลูกด้วยการรักเขามากเกินไป ผลก็คือเกิดภาวะรักจนหลง ลูกของตนถูกทุกอย่าง ลูกของตนดีกว่าคนอื่นเสมอ อันส่งผลให้ลูกกลายเป็นคนมีอัตตาสูง เชื่อมั่นตนเองในทางที่ผิด ชอบดูถูกคน เป็นตัวปัญหา แต่ไม่ยอมรับว่าตนเป็นคนสร้างปัญหา
พ่อแม่บางคน (๒)
    ทำร้ายลูกด้วยการตามใจเขามากเกินไป ผลก็คือพ่อแม่กลายเป็นข้าช่วงใช้ของลูก ส่วนลูกกลายเป็น “ลูกบังเกิดเกล้า” ที่พ่อแม่ต้องยอมให้เขาทุกอย่าง  ที่หนักกว่านั้นก็คือ ถ้าพ่อแม่ไม่ยอมตามที่ลูกต้องการลูกบางคนก็ถึงขั้นทุบตีทำร้ายพ่อแม่
พ่อแม่บางคน (๓)
    ทำร้ายลูกด้วยการไม่กล้าห้ามปรามสั่งสอนเมื่อลูกทำผิด ทำเลว ทำบาป  ผลก็คือ ลูกสูญเสียสามัญสำนึก แยกแยะถูกผิดดีชั่วไม่เป็น มองไม่เห็นเส้นแบ่งทางจริยธรรมว่า ดีเป็นอย่างไร ชั่วเป็นอย่างไร จึงกลายเป็นนักเลงอันธพาล  ระรานคนเขาไปทั่ว
พ่อแม่บางคน (๔)
    ทำร้ายลูกด้วยการให้เงินลูกเพียงอย่างเดียว  ผลก็คือ  ลูกไม่รู้จักคุณค่าของเงิน  ไม่เห็นคุณค่าของผู้ที่หา/และให้เงิน  ยิ่งได้เงินมาก  ยิ่งผลาญเงินเก่ง  มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอใช้  และทั้งๆที่ใช้จ่ายเงินสูง  แต่กลับมีคุณภาพชีวิตต่ำ
พ่อแม่บางคน (๕)
    ทำร้ายลูกด้วยการไม่ยอมให้ลูกเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง เกรงว่าหากให้ลูกทำอะไรด้วยตนเองแล้วเขาจะลำบาก ผลก็คือเมื่อโตขึ้นลูกกลายเป็นลูกแหง่ที่พึ่งตนเองไม่ได้ ทำอะไรด้วยตนเองไม่เป็น ยิ่งเติบโตยิ่งเป็นตัวปัญหาของสถาบันครอบครัว
พ่อแม่บางคน (๖)
    ทำร้ายลูกด้วยการไม่ยอมส่งเสริมให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดี มัวแต่สนใจลงทุนในการทำธุรกิจเป็นร้อยเป็นพันล้าน แต่ไม่รู้จักลงทุนในการสร้างลูกให้เป็นปัญญาชน ผลก็คือลูกเติบโตแต่ตัว แต่ทว่ามีสติปัญญาที่ต่ำต้อย ขาดทักษะการคิด การใช้เหตุผล การทำงาน การเข้าสังคม เขาไม่เพียงแต่ไม่สามารถร่วมเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมเท่านั้นแต่ยังสร้าง ปัญหาให้สังคมอีกต่างหาก
พ่อแม่บางคน (๗)
    ทำร้ายลูกด้วยการทำแต่งานสังคมสงเคราะห์นอกบ้าน โดยลืมไปว่าคนที่ตนต้องสงเคราะห์ก่อนดูแลก่อนต้องให้ความรักก่อนก็คือลูก ผลก็คือแม้จะกลายเป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ประสบความสำเร็จนอกบ้าน สังคมสรรเสริญ แต่กลับเป็นพ่อแม่ที่ล้มเหลวในบ้าน และลูกกลายเป็นเด็กที่ขาดความรัก ความอบอุ่น  ไม่พร้อมจะแบ่งปันความรักและความอบอุ่นให้ใคร
พ่อแม่บางคน (๘)
    ทำร้ายลูกด้วยการไม่รู้จักยกย่องชมเชยลูกเมื่อเขาประสบความสำเร็จในการเรียน ในการทำงาน หรือในการทำกิจกรรมใดๆก็ตาม ผลก็คือลูกกลายเป็นคนใจคอคับแคบ ยกย่องชมเชยใครไม่เป็น เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีมีความสำเร็จ เขาจึงเป็นนักอิจฉาริษยาตัวฉกาจ ที่จ้องแต่จะหาทางทำลายคุณงามความดีของคนอื่น
พ่อแม่บางคน (๙)
    ทำร้ายลูกด้วยการไม่รู้จักสอนเขาให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ  ผลก็คือ  เมื่อโตขึ้น  เขาจึงพร้อมผละหนีพ่อแม่ไปอย่างไม่รู้สึกผิด  ไม่เห็นความจำเป็นว่า  การเป็นลูกที่ดีนั้น  จะต้องกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ของตนอย่างไร
พ่อแม่บางคน (๑๐)
    ทำร้ายลูกด้วยการไม่สอนลูกให้รู้จักการบำเพ็ญตนเป็นผู้ให้ ผลก็คือเมื่อโตขึ้นเขาจึงกลายเป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ คิดแต่จะกอบโกย คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวจนมองไม่เห็นหัวคนอื่น แทนที่จะถือหลัก “ยิ่งรวยยิ่งให้ ยิ่งได้ยิ่งแบ่ง”กลับถือหลัก “ยิ่งรวยยิ่งคอร์รัปชั่น ยิ่งแบ่งปันยิ่งสูญเสียเปล่า”
พ่อแม่บางคน (๑๑)
    ทำร้ายลูกด้วยการไม่ยอมให้ลูกรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง  ผลก็คือ  ลูกกลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง  ไม่กล้าคิด  ไม่กล้าพูด  ไม่กล้าทำอะไร  ส่งผลให้ไร้ภาวะผู้นำ  ต้องเดินตามคนอื่นโดยดุษฎี
พ่อแม่บางคน (๑๒)
    ทำร้ายลูกด้วยการไม่สอนให้ลูกรู้จักสมบัติของผู้ดี ผลก็คือเขากลายเป็นคนหยาบกระด้างทั้งทางกาย ทางใจ ใจคอโหดหินทมิฬชาติ ขาดความสุภาพอ่อนน้อม ขาดสัมมาคาราวะ ไม่รู้จักกาลเทศะ ไม่รู้จักประมาณตน ครองตน ครองงานไม่เป็น ไม่เห็นคุณค่าของระเบียบประเพณี กฎหมาย จรรยาจารีตของสังคม  ไม่เคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนดีของเพื่อนมนุษย์
พ่อแม่บางคน (๑๓)
    ทำร้ายลูกด้วยการไม่แนะนำให้ลูกรู้จักคบเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร (เพื่อนแท้) ผลก็คือรอบกายของเขาจึงมีแต่บาปมิตร (เพื่อนเทียม) คอยประจบสอพลอ คอยหลอกล่อให้ทำความเลวทรามต่ำช้า ติดสุรา ยาเสพติด นำพาชีวิตไปในทางเสียหาย ตกอยู่ใต้วังวนของอบายมุข สนุกสนาน ไม่สนใจหาแก่นสารให้กับชีวิต
พ่อแม่บางคน (๑๔)
    ทำร้ายลูกด้วยการไม่รู้จักสร้างสภาพแวดล้อมให้ลูกเป็นคนรักการอ่าน รักการเขียน รักการเรียนรู้ รักการเดินทาง ปล่อยให้เขาศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเองไปตามยถากรรม ผลก็คือเขากลายเป็นคนหูตาคับแคบ ขาดความรู้พื้นฐาน ขาดความรู้รอบตัว ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การคิด พูด ทำ ไม่เฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง ขาดความแหลมคม ตามไม่ทันโลก ตกข่าว เป็นคนว่างเปล่าทางความรู้ (รอบตัว) ความคิด จิตใจ และไม่มีรสนิยมอย่างอารยชน
ว.วชิรเมธี

ชื่อเมืองต่างๆ ของประเทศไทย ในประวัติศาสตร์

ชื่อเมืองต่างๆ ของประเทศไทย ในประวัติศาสตร์ 

 
    ชื่อเดิม     สองแคว                                       ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดพิษณุโลก
     ชื่อเดิม     ศรีสัชนาลัย                                   ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดสุโขทัย
     ชื่อเดิม     สระหลวง,โอฆะบุรี                         ชื่อปัจจุบัน      จังหวัดพิจิตร
     ชื่อเดิม     ฉอด                                            ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดตาก
     ชื่อเดิม     แม่ละเมา                                      ชื่อปัจจุบัน     ต.แม่ละเมา อ.แม่สอด จังหวัดตาก
     ชื่อเดิม     พิชัย                                            ชื่อปัจจุบัน     อ.พิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
     ชื่อเดิม     ทุ่งยั้ง,ศรีนพวงศ์                            ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดอุตรดิตถ์
     ชื่อเดิม     ชากังราว,นครชุม                           ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดกำแพงเพชร
     ชื่อเดิม     วิเศษไชยชาญ                                ชื่อปัจจุบัน     อ.วิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง
     ชื่อเดิม     อโยธยา                                        ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดอยุธยา
     ชื่อเดิม     ละโว้                                            ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดลพบุรี
     ชื่อเดิม     บางระจัน                                      ชื่อปัจจุบัน     อ.บางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
     ชื่อเดิม     ศรีวิชัย,นครไชยศรีทวาราวดี             ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดนครปฐม
     ชื่อเดิม     แปดริ้ว                                         ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดฉะเชิงเทรา
     ชื่อเดิม     อู่ทอง                                           ชื่อปัจจุบัน     อ.อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
     ชื่อเดิม     ดอนเจดีย์                                      ชื่อปัจจุบัน     อ.ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
     ชื่อเดิม     หนองสาหร่าย                                ชื่อปัจจุบัน     ต.หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี
     ชื่อเดิม     สามโคก                                        ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดปทุมธานี
     ชื่อเดิม     พระบาง,ปากน้ำโพ                          ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดนครสวรรค์
     ชื่อเดิม     หริภุญไชย                                     ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดลำพูน
     ชื่อเดิม     เขลางค์                                         ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดลำปาง
     ชื่อเดิม     เวียงพิงค์                                       ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดเชียงใหม่
     ชื่อเดิม     เงินยาง                                         ชื่อปัจจุบัน     อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย
     ชื่อเดิม     สาครบุรี                                        ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดสมุทรสาคร
     ชื่อเดิม    เสมา,โคราช                                    ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดนครราชสีมา
     ชื่อเดิม    พิมาย                                             ชื่อปัจจุบัน     อ.พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
     ชื่อเดิม    ขุขันธ์                                             ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดศรีษะเกษ
     ชื่อเดิม    ไชยา                                              ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดสุราษฎ์ธานี
     ชื่อเดิม    ศิริธรรมนคร                                    ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดนครศรีธรรมราช
     ชื่อเดิม    ถลาง                                              ชื่อปัจจุบัน      จังหวัดภูเก็ต
     ชื่อเดิม    คลองวาน                                        ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    ชื่อเดิม    ไชยนารายณ์                             ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดเชียงราย
     ชื่อเดิม     นันทบุรี                                          ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดน่าน
     ชื่อเดิม     บ้านตลาดแก้ว                                  ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดนนทบุรี
     ชื่อเดิม     ดอนมดแดง                                     ชื่อปัจจุบัน     จังหวัดอุบลราชธานี

ขอบคุณข้อมูลจาก : thaigoodview

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

14 สิ่งที่สุดในชีวิตเราคือ ??

1. ศัตรูที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิตเรา คือ ตัวเราเอง
The most formidable enemy in one's life is oneself

2. ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา คือ ความอวดดี
The biggest failure in one's life is self-important.

3. การกระทำที่โง่เขลาที่สุดในชีวิตเรา คือ การหลอกลวง
The unwiset act in one's life is deceit.

4. สิ่งที่แสนสาหัสที่สุดในชีวิตเรา คือ ความอิจฉาริษยา
The most miserable act in one's life is jealousy.

5. ความผิดพลาดมหันต์ที่สุดในชีวิตเรา คือ การยอมแพ้ตนเอง
The gravest mistake in one's life is self-abundonment.

6. สิ่งที่เป็นอกุศลที่สุดในชีวิตของเรา คือ การหลอกตัวเอง
The most sinful act in one's life is self-deception.

7. สิ่งที่น่าสังเวชที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การถดถอยของตัวเอง
The most pitiful temperament in one&rsquo's life is self-abasement.

8. สิ่งที่น่าสรรเสริญที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอุตสาหะวิริยะ
The most admirable spirit in one&rsquo's life is perserverance.

9. ความล้มละลายที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความสิ้นหวัง
The most complete bankruptcy in one&rsquo's life is despair.

10. ทรัพย์สมบัติที่มีค่าที่สุดในชีวิตเรา คือ สุขภาพที่สมบูรณ์
The greatest wealth in one&rsquo's life is health.

11. หนี้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา คือ หนี้บุญคุณ
The heaviest debt in one&rsquo's life is a debt gratitide for
other's help.

12. ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา คือ การให้อภัยและความเมตตา
The groundest gift in one&rsquo's life is forgiveness and kindness,

13. ข้อบกพร่องที่ใหญ่หลวงที่สุดในชีวิตเรา คือ การมองโลกในแง่ร้ายและไร้เหตุผล
The biggest shortcoming in one&rsquo's life is permissism on unreason.

14. สิ่งที่ทำให้อิ่มอกอิ่มใจมากที่สุด คือ การให้ทาน
The greatest gratification in one&rsquo's life is alms giving

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แค่ความผูกพันธ์

แค่ความผูกพันธ์

      วันนี้ เราอาจรู้สึกผูกพันต่อสิ่งหนึ่ง จนคิดว่าเราขาดไม่ได้... แต่เวลาจะทำให้ทุกอย่าง 
     เปลี่ยนแปลง  ไปสักวันเราจะรู้ว่า สิ่งที่เราผูกพันในวันนี้ เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่เติมชีวิตเรา
    ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต
    วันหนึ่ง หากเรามีโอกาสได้เจอสิ่งที่ถูกใจสิ่งใหม่ที่เราคิดว่าเราพึงใจ..ปรารถนา..ต้อง
  การ..ขาดไม่ได้
    เราก็จะเริ่มผูกพันกับสิ่งใหม่ได้ในเวลาไม่นานนัก
เวลา.. จะสอนเราเองว่า ความผูกพันกับสิ่งใดๆในช่วงเวลาหนึ่ง จะเป็นความสุขในช่วงเวลานั้นๆ อย่าได้ไปยึดติด อย่าได้ไปใช้ชีวิตทั้งชีวิตลุ่มหลง คิดเสียว่าเราโชคดีที่มีโอกาสได้ผูกพันกับสิ่งที่เรารัก
ความผูกพันก็เหมือนกับความรัก หรืออาจจะเป็นผลพวงที่มาจากความรัก หากเรารักใครคนใดคนหนึ่งมาก เราก็จะรู้สึกว่าผูกพันมาก แต่ความผูกพันที่ว่า ไม่ได้หมายถึงการหยุดตัวเองไว้กับสิ่งนั้นๆ เพราะคนเราทุกคนย่อมผูกพันกับหลายๆสิ่ง
เปรียบเสมือน เรามีแก้วนำอยู่หนึ่งใบ
ในยามเช้า...เราอาจต้องใช้แก้วใบนี้ดื่มนม
พออากาศร้อนหน่อย...เราอาจต้องการน้ำเย็นๆ
บางครั้งที่เราไม่สบาย...เราอาจต้องการน้ำอุ่น
ใจเราก็เหมือนกับแก้วน้ำ...
ต้องเติมสิ่งต่างๆ ในเวลาที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสม
หากเราเติมน้ำเย็นลงไปในแก้วน้ำ
แล้วเติมน้ำร้อนลงไปในทันที ในแก้วใบเดียวกัน
แก้วใบนั้น..ก็จะร้าว..เริ่มแตก ซึ่งก็เหมือนกับใจเรา...
ความผูกพันต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดในช่วงเวลาหนึ่งนั้น..ไม่ผิด ถ้าเราค่อยๆปรับใจ..ปรับตัวของเราเอง..ให้กลับคืนในเวลาที่ควร เพราะอย่างน้อยที่สุด..เราก็มีโอกาสได้ผูกพัน ซึ่งก็เหมือนเรามีโอกาสได้รักนั่นเอง
ถ้าคุณมีความสุขที่เห็นเค้าเดินกับคนอื่น... คือ ความรัก
ถ้าคุณเศร้า..เหงา..คิดถึงเค้า..อยากเจอ..อยากพูดคุย... คือ ความรัก
ถ้าคุณร้อนรนที่เค้าอยู่กับใครๆที่ไม่ใช่คุณ... คือ ความใคร่
อยากเก็บไว้เป็นเจ้าของคนเดียว
ถ้าคุณเมามาย..เค้าลูบหลังไหล่..ดูแล... คือ ความรักที่บริสุทธิ์ใจ
ถ้าคุณเมามาย..เค้ากอดและสัมผัสร่างกาย... คือ ความใคร่จากเค้าของคุณ
ถ้าคุณเข้าหา.. แต่เค้าหนี... ... คือ ความใคร่ ที่หมดเยื่อใยแล้ว
ถ้าคุณหนี.. แต่เขาวิ่งตามมา... ... คือ ความรัก ที่ยังไม่มีจุดจบ
ถ้าคุณร้องไห้ให้กับคนที่ไม่มีเยื่อใยในตัวคุณ... คุณคือ คนโง่ และบ้า
อย่างน่าอาย
แต่ถ้าคุณพอใจ..จงรัก..และมอบความรักให้กับเค้า... แม้มันจะไม่กลับมาหาคุณก็ตาม

จงดีใจที่ได้รักซะวันนี้.. ดีกว่าที่จะมานั่งเสียใจในวันหน้า
จงภูมิใจที่มีความใคร่.. เสน่หา
เพราะมันจะไม่ย้อนกลับมาหาอีกต่อไป...

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ชนะหรือแพ้...มันก็แค่สิ่งสมมุติ

อาจกล่าว ได้ว่า ความล้มเหลวและความผิดหวังนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับ เราไม่ต่างจากความสม หวัง เพียงแต่คนเรามักจะสมมติให้ตัวเองพึงพอใจกับความสมหวังมากกว่าเท่านั้นเอง
ใน ยามที่สมหวัง เราอาจจะบอกกับตัวเองว่าเป็น "ผู้ชนะ" โดยที่ไม่เคยสนใจว่าได้มันมาอย่างไร หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเก็บรักษาเอาไว้ได้นานอย่างไร
ในทางกลับกัน เมื่อเป็นฝ่ายที่ต้องผิดหวังบ้าง เราก็มักจะตอกย้ำกับตัวเองอยู่เสมอว่าเราเป็น "ผู้แพ้" คนส่วนใหญ่จึงมองข้ามสิ่งสำคัญของชีวิตไป เพราะมัวแต่จดจ้องอยู่แค่คำว่า
แพ้ . . . ชนะ
หาก เปรียบชีวิตคนเราเป็นการแข่งขัน โลกนี้ก็คงเป็นสนามที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เราทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันที่จะเข้าร่วมอย่างไม่ มีเงื่อนไข และก็ใช่ว่าโลกจะจำกัดชนิดกีฬาที่แข่งขัน มีหลากหลายอย่างที่ให้เราเลือกเล่น เราจึงต้องแสดงฝีมือในสิ่งที่ตนเองถนัดอย่างเต็มความ สามารถ จนกว่าระฆังยกสุดท้ายของชีวิตจะดังขึ้น ซึ่งก็จะเป็นการสิ้นสุดการแข่งขันอันยาวนานนั้นลง
และในสนามแข่งขัน ของเกมชีวิตนั้นจะไม่มีการพักครึ่ง ไม่มีการขอเวลานอก ที่สำคัญไม่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ เพราะเราต่างเกิดมาเพื่อที่จะเล่นเกมของตัวเองด้วยตัวเองจนจบ
แม้บาง เกมเราจะแพ้หรือชนะ แต่ทุกๆ เกมเกิดจากการตัดสินใจของตัวเราเองทั้งสิ้น เราจึงต้องยืดอกยอมรับต่อผลที่เกิดขึ้นอย่างกล้าหาญ และน่าจะดีกว่าถ้าเราทำทุกอย่างให้ดีที่สุด เพื่อจะไม่ต้องเสียใจในภายหลังเมื่อความผิดหวังมาเยือน
เมื่อพูดอย่าง นี้ ก็ใช่ว่าจะยิ่งใหญ่ที่สุดเสมอไป เพราะบางครั้งความพ่ายแพ้ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย แม้ว่าชัยชนะจะเป็นยอดปรารถนาของคนเราก็ตามที แต่เรามักจะได้อะไรดีๆ ในชีวิตจากความพ่ายแพ้มากกว่า เพียงแต่เราต้องทำความรู้จักและเรียนรู้จากมัน เพื่อสามารถนำเอาความผิดพลาดต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในครั้งต่อไป ดังเช่นที่ นโปเลียน นักการเมืองการทหารผู้ยิ่งใหญ่ชาวฝรั่งเศส เคยกล่าวไว้ว่า
"คนที่ไม่รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาด ยังห่างไกลจากหนทางสู่ความสำเร็จนัก"
ไม่จำเป็นว่าเราต้องเป็นผู้ชนะฝ่ายเดียว
แพ้เสียบ้างก็เป็นกำไรชีวิตได้เช่นกัน
คน ส่วนใหญ่จึงอาจจะคิดว่าการเป็นที่หนึ่งนั้นจำเป็นต้องเอาชนะคนอื่นเท่า นั้น หากแต่แท้จริงแล้ว เกมที่เราแข่งขันอยู่ในสนามชีวิตจริง อาจไม่จำเป็นต้องมีคู่แข่งอื่นใดนอกจากตัวเรา เพราะบางทีเพียงแค่การเอาชนะใจตัวเอง เพราะบางทีเพียงแค่การเอาชนะใจตัวเองมันก็เป็นเรื่อง ที่ยากเย็นเสียนี่กระไร
บางทีหากเราต้องการจะเป็นผู้ชนะตัวจริง จึงไม่ใช่การวิ่งแซงหน้าเพื่อเอาชนะใครต่อใคร หากแต่คือการเอาชนใจตัวเองให้ได้ ก็ถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแล้วล่ะครับ

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พุทธทำนาย

พุทธทำนาย 16 ประการ


ใน ยุคโลกาภิวัตน์ ที่ความเจริญทางด้านวัตถุ ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นที่น่าฉงนว่า ทำไมคนในโลกกลับมีความสุขน้อยลง และดูเหมือนว่าปัญหาในการดำรงชีวิต กลับมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหาทางด้านศีลธรรม จริยธรรมอันเป็นความเจริญทางด้านจิตใจ ดูจะเป็นสมการผกผัน กับความเจริญทางด้านวัตถุอย่างน่าเป็นห่วง ทุกวันนี้ หากเราฟังข่าวคราวไม่ว่าในประเทศไทย หรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ล้วนแล้วแต่มีเหตุการณ์ร้ายๆ เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และภัยอันเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง

หลายๆ สิ่งเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ก็สามารถนำมาใช้คาดการณ์ล่วงหน้าและรับมือได้ทัน แต่ก็มีไม่น้อย ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังไปไม่ถึง แต่หากจะบอกว่าสภาพการณ์หลายๆ อย่างที่อุบัติขึ้นในสมัยปัจจุบัน เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า ได้ทำนายล่วงหน้ามาแล้วกว่า 2500 ปี หลายๆ คนอาจจะยังไม่เชื่อ หรือไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ดังนั้น กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำเรื่อง “พุทธทำนาย” อันปรากฏอยู่ในอรรถกถาพระไตรปิฎก มหาสุบินนิมิตชาดก เอกนิบาตชาดก ขุททกนิกาย ซึ่งเป็นเรื่องเล่าถึงสมัยที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงทำนายพระสุบิน(ความฝัน) ให้พระเจ้าปเสนทิโกศล จำนวน 16 ข้อ ว่ามีความหมายอย่างไร ดังนี้

วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ครองกรุงสาวัตถี ได้เสด็จเข้าสู่นิทรารมย์ในราตรีกาล ครั้นล่วงปัจฉิมยามใกล้รุ่ง ได้ทอดพระเนตรเห็น พระสุบินนิมิตอันใหญ่หลวง ถึง 16 ประการ อันเป็นพระสุบินที่แปลกประหลาด จึงทรงตกพระทัยตื่นบรรทม และครั้นรุ่งเช้า ก็ได้ให้พวกพราหมณ์ปุโรหิตประจำราชสำนักทำนาย พวกพราหมณ์ปุโรหิต ก็พากันทำนายว่าเป็นพระสุบินที่ร้าย และว่าพระองค์จะต้องประสบภัยอันตราย 3 ประการ ไม่เสียราชทรัพย์ ก็จะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หรือไม่ก็ต้องสวรรคต อย่างใดอย่างหนึ่ง และแนะให้พระองค์ทำพิธีบูชายัญสัตว์ เพื่อสะเดาะห์เคราะห์ เมื่อพระนางมัลลิกา พระมเหสีทราบเรื่องเข้า จึงทูลให้ไปขอคำแนะนำจากพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้ทรงทำนายว่า เหตุร้ายนั้นจะมีแน่นอน เพียงแต่มิใช่เกิดแก่พระเจ้าปเสนทิโกศล หรือแว่นแคว้นของพระองค์ แต่เหตุร้ายเหล่านี้จะเกิดแก่สัตว์โลกทั่วๆ ไป และแก่พระศาสนาของพระพุทธองค์ในภายภาคหน้า เมื่อล่วงเลยพุทธกาลไปแล้ว 2500 ปี เมื่อศาสนาเสื่อมลง (กล่าวกันว่า อายุของพุทธศาสนาในกัลป์นี้ ยืนยาวเพียง 5,000 ปี หลังจากนั้น ต้องรอยุคของพระศรีอาริยเมตไตรย์ พระพุทธเจ้าองค์ต่อไปเสด็จมาโปรดสัตว์)

ความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศล และคำทำนายของพระพุทธเจ้าทั้ง 16 ประการ ประกอบด้วย

1. ทรงฝันว่า มีโคตัวผู้สีเหมือนดอกอัญชัญ 4 ตัว ต่างคิดจะชนกัน ก็พากันวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวงจาก 4 ทิศ ฝูงชนต่างรอดู โคทั้งสี่ก็ส่งเสียงคำรามลั่น แต่แล้วต่างก็ถอยออกไป ไม่ชนกัน
พระ พุทธเจ้าได้ทรงทำนายว่า ในอนาคตในชั่วศาสนาของพระองค์ เมื่อโลกหมุนไปถึงจุดที่เสื่อมลง มนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ฝนฟ้าจักแล้ง ทุพภิกขภัยจักเกิดขึ้น คล้ายเมฆตั้งเค้าจะมีฝน มีเสียงคำรามกระหึ่ม แต่แล้วก็ไม่ตก กลับเลยหายไป เหมือนโคตั้งท่าจะชนกัน แต่ไม่ชนกันฉะนั้น

2. ทรงฝันว่า ต้นไม้เล็กๆ และกอไผ่ที่โตเพียงคืบบ้าง ศอกบ้าง ก็ออกดอกออกผลแล้ว
พระ พุทธองค์ทรงทำนายว่า ต่อไปเมื่อโลกเสื่อม มนุษย์แม้จะมีอายุเยาว์ มีวัยยังไม่สมบูรณ์ก็จะมีราคะกล้า และสมสู่กันตั้งแต่อายุยังน้อย และจะมีลูกแต่เด็กๆ เหมือนต้นไม้เล็กๆ แต่ก็มีผลแล้ว

3. ทรงฝันว่า ทรงเห็นแม่โคใหญ่ๆ พากันดื่มนมของฝูงลูกโคที่เพิ่งเกิด
ทรง ทำนายว่า ต่อไปในอนาคตการเคารพนบนอบผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์จะเสื่อมถอย คนเฒ่าคนแก่พ่อแม่เมื่อหมดที่พึ่ง หาเลี้ยงตนไม่ได้ ก็ต้องง้อ ต้องประจบเด็กๆ ดังที่แม่โคที่ต้องกินนมลูกโคฉะนั้น

4. ทรงฝันว่าผู้คนไม่ใช้วัวตัวใหญ่ ที่สมบูรณ์แข็งแรงเทียมแอกลากเกวียน กลับไปใช้โครุ่นๆ ที่ยังปราศจากกำลังมาลาก เมื่อมันลากเกวียนให้แล่นไม่ได้ มันก็สลัดแอกนั้นเสีย
ทรงทำนายว่า ในภายหน้าเมื่อผู้มีอำนาจไม่ตั้งอยู่ในธรรม แทนที่จะยกย่องและมอบหมายหน้าที่ ให้กับผู้มีสติปัญญา ความรู้ กลับไปมอบยศศักดิ์ให้กับคนหนุ่มที่อ่อนหัด ด้อยประสบการณ์ ทำให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ดี กิจการต่างๆ ก็ไม่สำเร็จ ก็เหมือนใช้โครุ่นมาเทียมแอก เกวียนก็แล่นไม่ได้ฉันใด ก็ฉันนั้น

5. ทรงฝันว่าเห็นม้าตัวหนึ่ง มีปากสองข้าง ฝูงชนก็เอาหญ้าไปป้อนที่ปากทั้งสองข้าง มันก็กินทั้งสองข้าง 
ทรง ทำนายว่า ในอนาคตเมื่อผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจไม่ดำรงอยู่ในธรรม ตั้งคนพาล หรือคนไม่มีศีลธรรมไว้ในตำแหน่งอันมีผลต่อผู้อื่น คนเหล่านั้นก็จะไม่นึกถึงบาปบุญ คุณโทษ แต่จะตัดสินคดีต่างๆ ตามแต่ใจชอบ โดยเอาสินบนจากทั้งสองฝ่ายเป็นประมาณ ดังม้าที่กินหญ้าทั้งสองปาก

6. ทรงฝันว่าฝูงชนเอาถาดทองราคาแพง ไปให้หมาจิ้งจอกแก่ตัวหนึ่ง พร้อมเชื้อเชิญให้หมาจิ้งจอกตัวนั้น ถ่ายปัสสาวะใส่ถาดทองนั้น
ทรง ทำนายว่า ต่อไปคนดีมีสกุลทั้งหลายจะสิ้นอำนาจวาสนา คนตระกูลต่ำ หรือคนพาลจะได้เป็นใหญ่เป็นโต และคนมีตระกูล ก็จะต้องยกลูกสาว ให้แก่ผู้ไร้ตระกูลเหล่านั้น เหมือนเอาถาดทองไปให้หมาปัสสาวะรด

7.ทรง ฝันว่า มีชายคนหนึ่งนั่งฟั่นเชือก แล้วหย่อนไปในที่ใกล้เท้า แม่หมาจิ้งจอกโซตัวหนึ่ง นอนอยู่ใต้ตั่งที่บุรุษนั้นนั่งอยู่ แล้วก็กัดกินเชือกนั้น โดยที่เขาไม่รู้ตัว
ทรง ทำนายว่า ในกาลข้างหน้า ผู้หญิงจะเหลาะแหละ โลเล ลุ่มหลงในสุรา เอาแต่แต่งตัว เที่ยวเตร่ ประพฤติทุศีล แล้วก็จะเอาทรัพย์ที่สามีหาได้ด้วยความลำบากไปใช้ หรือให้ชายชู้ เหมือนนางหมาโซที่นอนใต้ตั่ง คอยกัดกินเชือกที่เขาฟั่น และหย่อนลงไว้ใกล้เท้า

8. ทรงฝันว่ามีตุ่มน้ำเต็มเปี่ยมตุ่มหนึ่งวางอยู่ตรงประตูวัง แวดล้อมด้วยตุ่มว่างๆ เป็นอันมาก แต่คนก็ยังไปตักน้ำใส่ตุ่มที่เต็มอยู่ จนล้นแล้วล้นอีก โดยไม่เหลียวแลจะตักใส่ตุ่มที่ว่างๆ นั้นเลย
ทรง ทำนายว่า ในอนาคต เมื่อศาสนาเสื่อม คนเป็นใหญ่หรือมีอำนาจ จะเบียดเบียนหรือเอาเปรียบผู้ด้อยกว่า คนที่รวยอยู่แล้ว ก็จะมีคนจนหารายได้ ไปส่งเสริมให้รวยยิ่งขึ้น ดังฝูงชนที่ต้องตักน้ำใส่ตุ่มใหญ่ที่เต็มอยู่แล้วจนล้น ส่วนตุ่มที่ว่างอยู่กลับไม่ไปใส่น้ำ

9. ทรงฝันเห็นสระแห่งหนึ่ง มีบัวนานาชนิดขึ้นอยู่เต็ม และมีท่าขึ้นลงโดยรอบ สัตว์ต่างๆ ก็พากันดื่มน้ำในสระ แต่แทนที่น้ำบริเวณที่สัตว์เหยียบย่ำจะขุ่น กลับใสสะอาด ส่วนน้ำที่อยู่ลึกกลางสระที่สัตว์ไม่ไปดื่มหรือ เหยียบย่ำแทนที่จะใส กลับขุ่นข้น
ทรงทำนายว่า ต่อไป เมื่อคนมีอำนาจไม่ตั้งอยู่ในธรรม ขาดเมตตา คอยใช้อำนาจ รีดนาทาเร้นหรือกินสินบน ชาวบ้านชาวเมือง ก็จะหนีไปอยู่ตามชายแดนหรือที่อื่นๆ ทำให้ที่นั้นๆ ที่คนพากันไปอยู่มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น เหมือนน้ำรอบๆ สระที่ใส ส่วนเมืองหลวงกลับว่างเปล่า เหมือนกลางสระที่ขุ่น

10. ทรงฝันว่า เห็นข้าวที่คนหุงในหม้อใบเดียวกัน สุกไม่เท่ากัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ข้าวแฉะ ข้าวดิบ และข้าวสุกดี
ทรง ทำนายว่า ในอนาคต เมื่อคนทั้งหลายไม่อยู่ในศีลในธรรมกันมากขึ้น ก็จะทำให้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือตกไม่ทั่วถึง ทำให้การเพาะปลูกบางแห่งได้ผล บางแห่งก็ไม่ได้ผล เช่นเดียวกับข้าวที่มีสุกบ้าง ดิบบ้าง และแฉะบ้าง

11. ทรงฝันว่าคนนำแก่นจันทน์ที่มีราคาแพง ไปแลกกับเปรียงเน่า (อ่านว่า เปฺรียง มี 3 ความหมาย คือ 1. นมส้มผสมน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน 2.น้ำมันจากไขข้อวัว และ 3.เถาวัลย์เปรียง แต่ในที่นี้น่าจะหมายถึงเถาวัลย์เปรียง เทียบกับแก่นจันทน์ที่เป็นไม้เหมือนกันมากกว่า 2 ความหมายแรก)
ทรง ทำนายว่า กาลภายหน้า พระภิกษุอลัชชีเห็นแก่ได้ทั้งหลาย แทนที่จะนำธรรมะ ที่พระพุทธองค์สอน ไปสอนสั่งให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ และละความโลภ กลับใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหากิน หาปัจจัยบริจาคเข้าตัวเอง เหมือนเอาแก่นจันทน์ (ธรรมะคำสอนที่ดี) ไปแลกเอาเถาวัลย์เน่า (ลาภอามิสที่ได้รับมา ซึ่งไม่จีรังและไม่ช่วยให้พ้นทุกข์จริงๆ ได้)

12. ทรงฝันเห็นกระโหลกน้ำเต้าจมน้ำได้
ทรง ทำนายว่า ต่อไปคำพูดของคน ที่ไม่ควรจะได้รับความเชื่อถือ กลับจะได้รับความเชื่อถือ โดยเปรียบถ้อยคำของคนที่ไม่น่าเชื่อว่ามีน้ำหนักเบาเหมือนกับผลน้ำเต้า ซึ่งปกติจะลอยน้ำ แต่เมื่อคนเชื่อว่าคำพูดเหล่านั้นมีน้ำหนัก หรือหนักแน่น จึงเปรียบคำพูดนั้นว่ามีน้ำหนัก ราวกับน้ำเต้าที่จมน้ำได้

13. ทรงฝันว่าศิลาแท่งทึบขนาดเรือน ลอยน้ำได้เหมือนเรือ
ทรง ทำนายว่า ถ้อยคำของคนที่ควรได้รับการเชื่อถือ ซึ่งหนักแน่น มีน้ำหนักเปรียบประดุจแท่งศิลา กลับไม่ได้รับความเชื่อถือ หรือกลายเป็นถ้อยคำที่ไม่มีน้ำหนักเหมือน เรือที่ลอยได้ ข้อนี้ตรงกันข้ามกับข้อที่แล้ว คือ คนหันไปเชื่อคำพูดคนที่ไม่ควรเชื่อ เหมือนสิ่งที่ควรลอยกลับจม สิ่งที่ควรจมกลับลอย

14. ทรงฝันว่า ทรงเห็นฝูงเขียดตัวเล็กๆ วิ่งไล่กวดงูเห่าตัวใหญ่ และกัดเนื้องูเห่าขาดเหมือนกัดก้านบัว แล้วกลืนกินเข้าไป
ทรง ทำนายว่า เมื่อมนุษย์ปล่อยตัวปล่อยใจตามกิเลส ราคะ สามีจะตกอยู่ในอำนาจของเมียเด็ก และจะถูกดุด่าว่ากล่าวเช่นเดียวกับคนรับใช้ เหมือนเขียดตัวเล็กๆ แต่กลับกินงูได้

15. ทรงฝันว่า ฝูงพญาหงส์ทอง ที่มีขนเป็นทอง ถูกแวดล้อมด้วยกา
ทรงทำนายว่า ในอนาคตผู้มีตระกูลต้องไปเที่ยวประจบ และสวามิภักดิ์ต่อผู้ไม่มีตระกูล เหมือนหงส์ทองแวดล้อมด้วยกา

16. ทรงฝันว่า ฝูงแกะพากันไล่กวดฝูงเสือเหลือง และกัดกิน ทำให้เสืออื่นๆ สะดุ้งกลัว จนต้องหนีไปแอบซ่อนตัวจากฝูงแกะ
ทรง ทำนายว่าต่อไปภายหน้า คนชั่ว หรือคนที่ไม่ดีจะเรืองอำนาจ และใช้อำนาจเป็นธรรม ทำให้คนดีถูกทำร้าย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ต้องหลบหนี ซ่อนตัวจากภัยร้ายเหล่านี้ เหมือนเสือซ่อนตัวจากแกะ


เมื่อ พิจารณาความฝัน จะเห็นว่าหลายข้อในความฝัน เป็นสิ่งที่ผิดไปจากธรรมชาติ เช่น แม่โคกินนมลูกโค ม้าสองปาก เขียดกินงู และแกะกินเสือ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนมีนัยอันไปสู่พุทธทำนายทั้งสิ้น หลายคนอาจจะสงสัยว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์ในสมัยพุทธกาล ทำไมฝันได้ไกลไปถึงอนาคต อันไม่เกี่ยวข้องกับพระองค์ได้ถึงเพียงนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าคงเป็นเพราะเทวดาดลใจ ให้พระองค์ฝันแปลกประหลาด เพื่อพระบรมศาสดาจะได้ฝาก “พุทธทำนาย” เป็นคำพยากรณ์อันอมตะไว้ เป็นเครื่องเตือนสติ ให้มนุษย์โลกได้ตระหนัก และระมัดระวังภัยพิบัตินานัปการ ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า หลังจากที่พระพุทธองค์ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพราะคงเล็งเห็นด้วยญาณวิเศษแล้วว่า นับวันคนเราก็จะห่างไกลจากหลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ จนเป็นเหตุให้มนุษย์มุ่งทำลาย เอารัดเอาเปรียบทั้งเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง และสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อกอบโกยไปบำรุงบำเรอกิเลสแห่งตน โดยขาดความรัก ความเมตตาต่อกัน จึงทำให้คนเห็นแก่ตัว และมีผลให้สภาพแวดล้อม ธรรมชาติแปรปรวนไปหมด

ในปัจจุบัน เหตุการณ์หลายๆ อย่างที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง อันทำให้เพาะปลูกได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ปัญหาเรื่องศีลธรรมและจริยธรรม เช่น เด็กและเยาวชนแก่แดดขึ้น มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยเพิ่มขึ้น ลูกขาดความกตัญญู และความเคารพยำเกรงต่อพ่อแม่ อลัชชีหรือพระทุศีลมีมากขึ้น ชายแก่ตกอยู่ในอำนาจเมียเด็ก หรือปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เช่น คนขาดความรู้ประสบการณ์ ได้รับแต่งตั้งให้ปกครองบ้านเมืองเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้มีอำนาจรับสินบน ก็มีให้เห็นอยู่ทั่วไป คนรวยยิ่งรวยเพราะมีช่องทาง และโอกาสเอาเปรียบคนจน เหมือนตุ่มใหญ่ที่คนตักน้ำไปใส่จนเต็มแล้วเต็มอีก แล้วปล่อยตุ่มเล็กให้ว่างเปล่า ตัวอย่างเหล่านี้ ล้วนไม่พ้นคำพยากรณ์ที่ทรงทำนาย บอกแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตของสมัยโน้น ก็คือ สมัยนี้หรือปัจจุบันนั่นเอง

อย่าง ไรก็ดี ก็ยังมีพุทธทำนาย เพิ่มเติมที่มีผู้ถอดความจากศิลาจารึก เชตมหาวิหาร สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย ความว่า พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า “....เมื่อศาสนาตถาคตล่วงเลยไปถึงกึ่งพุทธกาล สัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดในยุคนั้น จะพบกับความลำบากทุกชาติทุกศาสนา ตามธรรมชาติอันหมุนเวียนของโลก ที่หมุนเวียนไปใกล้ความแตกทำลาย แผ่นดินแผ่นน้ำจะลุกเป็นไฟ มนุษย์และสัตว์จะได้รับภัยพิบัติสารพัดทั่วทิศ คนในสมัยนั้น(ปัจจุบัน) จะมีวิสัยโหดดุจกำเนิดจากสัตว์ป่าอำมหิต จะรบราฆ่าฟันกันถึงเลือดนองแผ่นดินแผ่นน้ำ ส่วนเวไนยสัตว์ผู้ขวนขวายในกุศลตามวัจนะของตถาคต ก็จะระงับร้อนไม่รุนแรง บ้านเมืองใดมีความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัย และคุณบิดามารดา เหตุร้ายภัยพิบัติจักเบาบาง แต่ก็จะหนีกฎธรรมชาติไม่พ้น...ในระยะนั้นศาสนาของตถาคตเสื่อมลงมาก เพราะพุทธบริษัทไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม เชื่อคำของคนโกง กล่าวคำเท็จ ไม่เคารพหลักธรรมนิยม คนประจบสอพลอได้รับการเชื่อถือในสังคม ผู้มีศีลธรรมประพฤติชอบ กลับไม่มีคนเคารพยำเกรง พระธรรมจะเริ่มเปล่งแสงรัศ มีฉายส่องโลกอีกวาระหนึ่ง

เมื่อมีธรรมิกราชโพธิญาณบังเกิดขึ้น อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ (น่าจะหมายถึงพระศรีอาริยเมตตไตรย์)....จะเสด็จมาเสริมสร้างพระศาสนา ของตถาคตให้รุ่งเรืองสืบไปอีก 5,000 พระวรรษา…คำทำนายของตถาคตนี้ ย่อมยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ผู้ใดรู้แล้วไม่เชื่อ นับเป็นกรรมของสัตว์โลกที่ต้องสิ้นสุดไปตามกรรมชั่วของตน ผู้ใดปรารถนารอดพ้นจากภัยพิบัติ ให้รักษาศีลห้าประการ เจริญเมตตากรุณา ประกอบสัมมาอาชีพ มีใจสันโดษ รู้จักพอ ไม่หลงมัวเมาในอำนาจและลาภยศ ตั้งใจประพฤติตนตามคำสอนของตถาคตให้มั่นคง จึงจะพ้นอันตรายในยุคกึ่งพุทธกาล” นี่คือพุทธทำนายที่ทรงตรัสไว้ กว่า 2500 ปีล่วงมาแล้ว ส่วนใครจะเชื่อ จะปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ก็คงเป็นไปตามกรรม ของแต่ละคนดังพระพุทธองค์ว่าไว้

เชียงใหม่ในแบบภาพวาด

วัดเจดีย์เหลี่ยม เวียงกุมกาม
กาดหลวง
น้ำตกแม่สา
วัดพระสิงห์
วัดเวฬุวัน
วัดสวนดอก
วัดอุปคุต
ถนนต้นยาง

บันไดนาคขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ

น้ำแม่ข่า

ปี๋ใหม่เมือง (วันสงกรานต์)
สะพานนวรัตน์

ถนนช้างม่อย

วัดพระสิงห์

เวียงกุมกาม

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วันวิสาขบูชา



วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก "วิสา - ขบุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7

ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ

1. ประสูติ เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า

2. ตรัสรู้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...

* ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
* ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
* ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ (อริยสัจ ๔) หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่...
1. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
2. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
4. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป

3. ปรินิพพาน เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)
การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีป ของโลก เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลด เสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก
ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น

ความสำคัญของวันวิสาขบูชา
พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท ประวัติความเป็นมา
ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา เนื่องจากมีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ อย่าง เกิดขึ้นในวันเดียวกันคือ ประสูติ ตรัสรู้ธรรม และปรินิพพาน วันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
ชาวพุทธศาสนิกชนทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชา นี้ และเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ สหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก และเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติ เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติเมื่อ ๒๖๐๐ กว่าปี ล่วงมาแล้ว


พระบิดาพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่าพระนางสิริมหามายา ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เป็นเจ้าชายในราชสกุลโคตมะ แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย คำว่า 'พุทธ' หรือ 'พุทธิ' ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีความหมายเหมือนกัน แปลว่า ปัญญา หรือ การตรัสรู้
จากคำสอนในพระไตรปิฎกกล่าวว่า พระพุทธเจ้าคือผู้ที่ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงเป็นผู้รู้สัจจธรรม และทรงมีพระญาณทัศนะกว้างไกลที่พระองค์ทรงรู้เห็นกำเนิด และความเป็นไปของสัตว์โลกตลอดภพสาม มีพระพุทธเจ้านับไม่ถ้วนพระองค์ได้อุบัติขึ้นในโลกนี้ เมื่อแต่ละพระองค์ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐแล้ว ทรงสั่งสอนธรรมะเพื่อให้ชาวโลกพ้นจากวัฏสงสารด้วยมหากรุณา จากพระไตรปิฏก "อปทานสูตร และพุทธวงศ์" กล่าวถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ นานนับอสงไขยกว่าที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
แม้ในขุททกนิกาย ชาดก ได้เล่าการสร้างบารมีถึง ๕๔๗ ชาติของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มาตลอดกว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเป็นผู้มีบุญที่เพียบพร้อมด้วยสติปัญญา และความเมตตา หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้เพียง ๗ วัน พระมารดาก็สวรรคต พระน้านางคือพระนางปชาบดีโคตมี เป็นผู้บำรุงเลี้ยงรักษา หลังจากประสูติได้ไม่นาน พระบิดาได้อัญเชิญอสิตดาบสมาทำนายอนาคตของเจ้าชายสิทธัตถะ อสิตดาบสแสดงอาการประหลาดต่อหน้าพระที่นั่งคือ หัวเราะและร้องไห้ หัวเราะเพราะดีใจที่ได้เห็นเจ้าชายสิทธัตถะ และได้ทำนายว่าเจ้าชายจะตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน แต่ร้องไห้เพราะอสิตดาบสนั้นจะมีอายุไม่ยืนยาวทันรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์นี้ คำทำนายนี้ได้รับการยืนยันจาก โกณฑัญญะ ซึ่งเป็นดาบสอีกท่านหนึ่งที่ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะจะสละราชสมบัติ เมื่อผนวชแล้วจะบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ส่วนดาบสอื่นๆ ล้วนทำนายว่า ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะไม่ทรงผนวช จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ คำทำนายดังกล่าวสร้างความตระหนกพระทัยแก่พระเจ้าสุทโธทนะเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงปรารถนาจะให้เจ้าชายสิทธัตถะปกครองแว่นแคว้นสืบทอดราชบัลลังก์ต่อ จากพระองค์ และเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ จึงทรงป้องกันเจ้าชายสิทธัตถะไม่ให้เห็นความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่จะทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงรู้สึกเบื่อหน่าย และอยากออกบวช
ด้วยเหตุนี้พระเจ้าสุทโธทนะ จึงทรงมีพระบัญชาให้เหล่าอำมาตย์เสนาบดี ช่วยกันสร้างปราสาทสามฤดูแก่เจ้าชาย ปราสาทแต่ละแห่งแวดล้อมด้วยเหล่าสนมกำนัลที่สวยงาม ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนทรงออกผนวช จึงเป็นชีวิตที่เพียบพร้อมด้วย รูปสมบัติ และทรัพย์สมบัติอย่างแท้จริง. เมื่อเจ้าชายทรงพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา พระมเหสีคือพระนางยโสธรา พิมพาประสูติพระโอรส พระนามว่า ราหุล วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงรถม้าประพาสสวนนอกเมือง ทรงเห็นคนแก่ คนป่วย คนตาย และนักบวช ภาพคนแก่ คนป่วย และคนตายทำให้พระองค์นึกถึงความทุกข์ และความไม่เที่ยงแท้ของสังขารมนุษย์ ต่อมา
เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงออกจากวัง ถือเพศเป็นนักบวชเที่ยวภิกขาจารไปเพื่อแสวงหาโมกขธรรม วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ณ ใต้ควงต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่จะบรรลุธรรม เจ้าชายสิทธัตถะได้แสวงหาผู้สอนวิธีหลุดพ้นแก่พระองค์ ๒ คนคือ อาฬารดาบส และอุทกดาบส ซึ่งทั้งสองนี้สอนพระองค์ให้ได้ญานชั้นสูง แต่ไม่บรรลุธรรม เมื่อพระองค์บรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงประกาศธรรม เผยแผ่คำสอนที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามพ้นทุกข์ตามพระองค์ไปได้ พระพุทธองค์ ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปี ทรงวางรากฐานพระพุทธศาสนา และมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ซึ่งในสมัยนั้นมีตั้งแต่ กษัตริย์ เจ้าชาย พ่อค้า แม่ค้า พราหมณ์ เศรษฐี ยาจกเข็ญใจ และชนทุกชั้นในสังคม

 ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย
วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่ สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะ พระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ใน หนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คือ พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป"
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุค ทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปนโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูติ. บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ
จากนั้นก็จะกระทำ ประทักษิณ หรือที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฎิมาในพระอุโบสถ ด้วยการเดินเวียนขวาสามรอบ รอบแรกจะสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ รอบที่สองจะสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ และรอบที่สามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ เมื่อครบ 3 รอบแล้วจึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูปในพระอุโบสถ ณ ที่บูชาอันควรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียน


วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทำไมเราต้องมี...ความรัก

เคยถามตัวเองบ้างไหม...ว่าทำไมเราต้องมี "ความรัก"
เคยถามตัวเองบ้างไหม...ว่าทำไมเราต้องรักคนๆ หนึ่งมากกว่าตัวเอง
เคยถามตัวเองบ้างไหม...ว่าทำไมเราต้องคิดถึงเค้าก่อนคนอื่นเสมอ
เคยถามตัวเองบ้างไหม...ว่าทำไมเราต้องแคร์เค้ามากกว่าทุกสิ่ง
เคยถามตัวเองบ้างไหม...ว่าทำไมเราต้องรอคอยเค้า
เคยถามตัวเองบ้างไหม...ว่าทำไมเราต้องเสียใจเพราะเค้าไม่รัก
เคยถามตัวเองบ้างไหม...ว่าทำไมเราต้องยิ้มได้ถ้าเค้ามีความสุข
เคยถามตัวเองบ้างไหม...ว่าทำไม เราต้องเสียน้ำตาเพราะเรื่องของเค้า

ถ้าคุณตอบตัวเองได้ทั้งหมด...
ความรักของทุกคนก็คงออกแบบได้
ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว...
ไม่มีใครเคยออกแบบความรักได้อย่างสวยหรู
ไม่มีใครกำหนดความรัก ให้มันเป็นไปตามใจต้องการ
เพราะ "ความรัก" มักใช้ "ความรู้สึก" มากกว่า "เหตุผล"     
เพียงแค่คุณเปิดใจยอมรับกับมัน
และทำทุกสิ่งทุกอย่างให้มีความสุข
แค่นี้คุณก็จะตอบตัวเองได้แล้วว่า
เรามี "ความรัก" เพราะอะไรหลายคนอาจมีความรักหลายคนเคยอกหักหลายคนเคยผิดหวังหลายคนเคยท้อแท้หลายคนเคยเข็ดกับความรักหลายคนเคยเสียน้ำตาหลายคนเคยคิดสั้นหลายคนเคยมองว่าตัวเองโง่แต่เราก็อยู่ได้เพราะความรักรักไม่ได้ทำร้ายใครแต่เราต่างหากที่ทำร้ายตัวเองเปิดใจรับมันแล้วชีวิตจะมีความสุข >.<....!!!

รัก 6 ประเภท
        วันนี้มีรูปแบบของความรักมาฝากให้คิดกันว่า . . . ความรักของคุณในตอนนี้เป็นแบบไหนกันบ้าง
 >1. ความรักแบบเสน่หา (Eros)
        ความรักเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต แม้จะไม่มากพอที่จะทำลายตนเอง หรือรู้สึกถูกใจอีกฝ่ายตั้งแต่แรกเห็น คล้ายรักแรกพบ ความดึงดูดใจซึ่งกันและกัน การแสดงออกมาทั้งคำพูดและการแสดงความใกล้ชิด อยากเจอกันทุกวัน ถ้าเป็นไปได้ วาดฝันเกี่ยวกับอีกฝ่ายไว้งดงาม และไม่ได้คาดการณ์ถึงอุปสรรคใดๆ
        คู่รักประเภทนี้พยายามพัฒนาสัมพันธภาพกับคู่ของตนอย่างรวดเร็ว โดยการเปิดเผย ซื่อสัตย์ และจริงใจ ใส่ใจคู่รักมากเป็นพิเศษ แต่ไม่แสดงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของหรือกลัวว่าจะมีคู่แข่ง
 >2. ความรักแบบไม่ผูกมัด (Ludus)
        ความรักเป็นเกมชนิดหนึ่ง เพื่อความบันเทิงของทั้งสองฝ่าย หลีกเลี่ยงการผูกมัด สามารถผลัดเปลี่ยนคู่ไปได้เรื่อยๆ พยายามที่จะไม่สร้างความผูกพันทางอารมณ์อย่างลึกซึ้งกับใคร เพื่อรักษาความเป็นอิสระของตน ถึงแม้จะไม่ต้องการทำให้อีกฝ่ายเจ็บปวด แต่การโกหกและความไม่จริงใจถือว่าเป็นการเล่นตามกติกาที่มี
        ความรักแบบนี้จะไม่หึงหวง หรือแสดงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ และอาจเห็นชอบให้คู่ของตนมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างความสมดุลในความสัมพันธ์ของตน
>3. ความรักแบบมิตรภาพ (Storge)
        ความรักพัฒนามาจากมิตรภาพ เป็นความรู้สึกรักใคร่อันเนื่องมาจากการคบหากันมาเป็นเวลานาน  ไม่ได้มีความรู้สึกตื่นเต้น เร่าร้อน แต่เน้นการกระทำที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกันและมีกิจกรรมร่วมกัน ความรักเป็นสิ่งที่มั่นคง ที่ผนวกเข้าไปกับการดำรงชีวิตตามปกติ
 >4. ความรักแบบลุ่มหลง (Mania)
        ผู้ที่มีความรักแบบนี้จะใฝ่หาความรัก แต่เชื่อว่าความรักเป็นความเจ็บปวด ปรารถนาความใกล้ชิดและต้องการความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ ต้องการให้คู่รักของตนแสดงความรักมากกว่าปกติ เมื่อใดที่คู่รักไม่ได้แสดงความใส่ใจ หรือไม่แสดงความรักตามที่ปรารถนา อาจจะทำร้ายตนเอง เพื่อเอาชนะความรัก คู่รักประเภทนี้เชื่อว่า เมื่อปราศจากความรักจากอีกฝ่าย ชีวิตก็ไม่มีคุณค่าอีกต่อไป
> 5. ความรักแบบมีเหตุผล (Pragma)
        เป็นความรักที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความเป็นจริง ผู้ที่มีความรักแบบนี้จะแสวงหาคู่ที่เหมาะสมกับตนมากที่สุด เชื่อว่าความสัมพันธ์จะราบรื่นก็ต่อเมื่อคู่รักสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของกันและกัน ได้แสวงหาคนที่มีลักษณะคล้ายตนหรือต่างจากตน แต่ช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาด การเลือกคู่จะมีลักษณะคล้ายรักเผื่อเลือก ทั้งนี้ก็เพราะคาดหวังสัมพันธภาพที่ยั่งยืน
 >6. ความรักแบบเสียสละ (Agape)
        เป็นความรักที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ต้องการเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ มีความห่วงใย และคำนึงถึงความสุขของคู่รักเป็นสำคัญ โดยไม่ใส่ใจกับความต้องการของตนเอง "การให้" เป็นปัจจัยสำคัญของความรักแบบนี้ นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาพบว่า ในชีวิตจริงคู่สมรสจะมีรูปแบบความรักที่คล้ายคลึงกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคู่ที่มีความสัมพันธ์ยาวนานกับคู่ที่เลิกราไป พบว่าประเภทแรกจะมีความรักแบบเสน่หาสูงกว่า และมีความรักแบบไม่ผูกมัดต่ำกว่าประเภทหลัง รูปแบบของความรักอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และลักษณะของบุคคลที่เรามีความสัมพันธ์ด้วย 
โดดเดี่ยวเดียวดายให้มีสุข
          ความรักของเราแต่ละคนอาจเริ่มต้นจากการพบกันโดยบังเอิญ
          มีเพื่อนแนะนำให้รู้จักกันตอนไปงานเลี้ยง งานวันเกิดเพื่อน
          ทำงานที่เดียวกัน   หรือรู้จักมักคุ้นกันตั้งแต่ยังเด็ก ฯลฯ
          ไม่ว่าเราจะพบเจอกันด้วยเหตุการณ์แบบไหน
          การเริ่มต้นของความรักก็มักเริ่มจากความสุขและความงดงามเสมอ
          มีความทรงจำและความประทับใจในกันและกันจนต้องสานสัมพันธ์ต่อ
          ทำความรู้จักตั้งแต่ผิวเผินจนมาเป็นคนรักกันในที่สุด
          แต่ใครจะไปรู้ว่าความรักครั้งนี้จะลงเอยอย่างไร
          ไม่ว่าจุดเริ่มต้นจะเป็นเช่นไร สุดท้ายก็มีแต่ความเศร้าอยู่ดี
          แม้เราจะพยายามทำใจให้ยอมรับกับความไม่แน่นอนบ้างแล้วส่วนหนึ่ง
          แต่เมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ ก็ไม่มีใครห้ามน้ำตาไม่ให้มันไหลได้เลยสักคน
          ความรักนั้นมักถูกมองว่าเป็นเรื่องใหญ่อย่างหนึ่งในชีวิต
          จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทุกคนจะให้ความสำคัญกับมันมากเป็นพิเศษ
          และพยายามสืบเสาะหาใครคนนั้นที่จะมาเป็นคู่ชีวิต
          เพื่อที่จะมาร่วมสร้างความสุข   เสียงหัวเราะ   มอบรอยยิ้ม 
          มอบสิ่งดีๆ ให้แก่กัน สร้างอนาคตที่สดใส
          ใช้วันคืนและแบ่งปันความสุขความทุกข์ที่มีร่วมกัน
          เมื่อถึงวันนั้นเราจึงต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้มันอยู่กับเราไปนานๆ
          แต่ความรักมันก็เหมือนเรื่องอื่นๆ ในชีวิตที่เราได้แต่ทำให้ดีที่สุดเท่านั้น
          รักกันให้ดีๆ ทำแต่สิ่งดีๆ   พูดแต่สิ่งดีๆ   มอบแต่สิ่งดีๆ ให้คนที่เรารัก
          แต่มันจะลงเอยอย่างไรก็เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่อาจกำหนดผลได้
          จะสมหวังหรือผิดหวังก็เป็นเพียงสิ่งที่สามารถจะเกิดขึ้นได้ทั้งสองทาง
          เราคงไม่อาจไปทัดทานอะไรได้
          หากเขาเป็นคนที่ใช่...สุดท้ายมันก็คือใช่
          แต่หากเขาไม่ใช่...จะยื้ออย่างไรก็คงอยู่กับเราได้ไม่นานนัก  ก้อต้องทำใจ  ปล่อยเขาไปเถอะ...

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

วัดสวนดอก

ที่ตั้งและอาณาเขต
วัดสวนดอกตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เลขที่ 139 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากประตูสวนดอกไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร กินเนื้อที่ 35 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา ทิศเหนือยาว 183 เมตร ทิศใต้ยาว 193 เมตร ทิศตะวันออกยาว 176 เมตร และทิศตะวันตกยาว 176 เมตร

ประวัติ

วัดสวนดอกในอดีตนั้นป็นสวนดอกไม้ (ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชวงศ์เม็งราย โดยในปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น "พระอารามหลวง" เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ "พระมหาเถระสุมน" ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน "พระบรมสารีริกธาตุ" 1 ใน 2 องค์ ที่ "พระมหาเถระสุมน" อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)

ในสมัย ราชวงศ์เม็งราย วัดสวนดอก มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้น ราชวงศ์เม็งราย บ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจพม่า ทั้งเกิดจลาจลวุ่นวาย วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไป วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในรัชสมัย พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่ง ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจาก เจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนเชียงใหม่มาโดยตลอด

วัดสวนดอก ต่อได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2475 เป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา

ปูชนียสถาน-วัตถุ

พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา
พระเจดีย์วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะใหม่และหุ้มแผ่นทองจังโก

พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "พระอารามหลวง" โดยโปรดเกล้าให้สร้าง "พระเจดีย์ทรงลังกา" ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 ซึ่งแต่เดิมมีเจดีย์แบบสุโขทัย (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) อยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระเจดีย์ใหญ่ แต่ได้ปรักหักพังลง พระเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

พระเจ้าเก้าตื้อ
พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง ("ตื้อ" เป็นคำในภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง) พระญาเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047 "พระเจ้าเก้าตื้อ" เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า "วัดเก้าตื้อ" แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

พระพุทธปฏิมาค่าคิง

พระพุทธปฏิมาค่าคิง (เท่าพระวรกาย) เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พ.ศ. 1916 หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง เรียกชื่อตามภาษาถิ่นล้านนาว่า “พระเจ้าค่าคิง”

กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ
กู่บรรจุพระอัฐิพระราชชายา เจ้าดารารัศมี


กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2450 โดยพระดำริใน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ซึ่งทรงเห็นว่าทำเลที่ตั้งของวัดสวนดอกกว้างขวาง จึงโปรดให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และ พระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน ณ ที่นี่ รวมทั้งได้ประทานทรัพย์ให้การทำนุบำรุงมาโดยตลอดพระชนม์ชีพ หลังจาก พระราชชายา เจ้าดารารัศมี สิ้นพระชนม์ ได้มีการแบ่งพระอัฐิของพระองค์มาประดิษฐานไว้ ณ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ (อีกส่วนหนึ่งแบ่งประดิษฐานไว้ใน สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร) ปัจจุบัน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

ธรรมาสน์เทศนา

ธรรมาสน์เทศนาแบบล้านนา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2474 และซุ้มประตูวัด จำนวน 3 ซุ้ม เป็นซุ้มประสาทแบบล้านนาขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อครูบาศรีวิชัยบูรณะวัดสวนดอกเมื่อ พ.ศ. 2474

อาคารเสนาสนะในวัดสวนดอก         
๑ .    พระวิหารหลวง      พระวิหารหลวงมีขนาดกว้าง  12 วา 2 ศอก  ยาว  33  วาสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2474  สร้างขึ้นโดยครูบาศรีวิชัยและเจ้าแก้วนวรัฐ  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ  เป็นวิหารโล่ง ไม่มีผนังแต่มีระเบียงโดยรอบ  หน้าบันทั้ง 2  ด้านมีลายปูนปั้นเครือเถาศิลปะแบบล้านนาที่สวยงาม      พระวิหารหลวงนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา    เล่มที่  52  ตอนที่  75  ลงวันที่8  มีนาคม  พ.ศ.2478       
๒ .    พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ    เป็นพระอุโบสถกว้าง  12  เมตรยาว  27  เมตร  สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2047  เป็นอาคารคอนกรีตก่ออิฐถือปูน ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาโดยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุด เมื่อพ.ศ. 2505  ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังโดยจิตรกรรุ่นใหม่เกี่ยวกับพุทธประวัติและเวสสันดรชาดก       
๓ .  หอฉัน  เป็นอาคารชั้นเดียว กว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตรภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับ เรื่องพระเจ้าสิบชาติ  หอฉันนี้สร้างใน ปีพ.ศ.  2519                 
๔.    ศาลาการเปรียญ      เป็นอาคารทรงไทยแบบก่ออิฐถือปูน  สร้างขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ.2532  เป็นศาลากว้าง  7  เมตร  ยาว  27  เมตร    สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พระครูสุคันธศีล  (คำแสน อินทจกโก )         
๕.    อาคารเรียนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยวิทยาเขตเชียงใหม่ (อาคาร1)    เป็นอาคาร3ชั้นกว้าง20เมตรยาว40เมตร สร้างเสร็จเมื่อปีพ.ศ.2536         
๖.    อาคารเรียนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ อาคาร ช้อย  นันทาภิวัฒน์  (อาคาร2)      เป็นอาคาร 4 ชั้น กว้าง 10 เมตร  ยาว 40 เมตรสร้างเสร็จเมื่อพ.ศ.2538         
๗.  อาคารสถาบันวิทยาบริการ( อาคาร ธีระศักดิ์ ไพโรจน์สถาพร)  เป็นอาคารแบบ 3 หลัง สร้างเมื่อปีพ.ศ.2539       
๘.    ศาลาอเนกประสงค์สมโภชนครเชียงใหม่ 700 ปี  เป็นอาคาร  2  ชั้น ขนาดกว้าง 8  เมตร ยาว  30  เมตร    สร้างเมื่อพ.ศ. 2538           
๙.  กุฏิสงฆ์      สร้างขึ้นในบริเวณวัดเพื่อเป็นที่พักของพระสงฆ์มีจำนวนทั้งสิ้น 21 หลังกุฏิสงฆ์  มีลักษณะพิเศษคือ ศาลาฝาไหลซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ 



วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

ประวัติวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร

ตำบลพระสิงห์ เขต 1 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด วรมหาวิหาร ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 2 ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ เขต 1 อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะพื้นที่ ของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีถนนล้อมรอบทั้งสี่ด้าน เขตพุทธาวาสอยู่ส่วนกลางของวัด รอบเขตพุทธาวาสเป็นสนามหญ้า ลานคอนกรีต และไม้ยืนต้น และมี อาคารเรียนโรงเรียนธรรมราชศึกษา อาคารเฉลิมพระเกียรติ อาคารพระธรรมสิทธาจารย์ อาคารเรียนพระปริยัติธรรม ศาลาสมเด็จกิตติโสภณ และศาลาสหัส - หงส์ มหาคุณ อนุสรณ์ ตั้งอยู่รอบเขตพุทธาวาส ส่วนเขตสังฆาวาสมีถนนซอยและกุฏิสงฆ์สร้างเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ แบ่งเป็นคณะปกครอง ซึ่งปัจจุบันมีการปกครองทั้งสิ้น 7 คณะ


ประวัติวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร เป็นพระอารามที่พระเจ้าผายูทรงสถาปนาขึ้น เมื่อพุทธศักราช 1888 เดิมเรียกว่าวัดลีเชียง เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะสมัยก่อนนั้นที่หน้าวัดเป็นท้องสนามกว้างเป็นที่ตั้งของตลาดเมือง ประชาชนต่างมาประชุมซื้อขายสินค้ากันภายในบริเวณนี้ คำว่าตลาด เดิมเรียกว่า ลี และคำว่าเมือง เรียกว่า เชียง จึงเป็นเหตุให้เรียกชื่อพระอารามที่พระเจ้าผายูทรงสถาปนาขึ้นนี้ว่าวัดลีเชียงไปด้วย

จากนั้นประมาณ พ.ศ. 1943 เจ้ามหาพรหม ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากกำแพงเพชร มีพระประสงค์ที่จะนำไปถวายแด่พระเจ้าแสนเมืองมา และพระเจ้าแสนเมืองมาเมื่อทรงรับแล้วมีพระราชประสงค์ที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดบุปผาราม (วัดสวนดอก (พระอารามหลวง) ในปัจจุบัน)

ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง
มาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดให้ประกาศยกฐานะวัดพระสิงห์ จากวัดราษฎร์ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 30 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 จึงได้นามเพิ่มในทางราชการว่า วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร
ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุ
1. พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 1 เมตร สกุลช่างแบบเชียงแสน สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 8 หรือประมาณ พ.ศ. 700

2. พระเจ้าทองทิพย์ หรือ พระสิงห์น้อย พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 12 แห่งราชวงศ์มังราย โปรดให้สร้างขึ้น พ.ศ. 2020 หน้าตัก 14.5 นิ้ว สูง 21 นิ้ว หนัก 27 กิโลกรัม ฝังอัญมณีมีค่าต่างๆ รอบฐาน

3. พระอุโบสถ มีรูปลักษณะเป็นแบบพิเศษ แตกต่างกับอุโบสถโดยทั่วไป เรียกว่าอุโบสถสองสงฆ์ พระอุโบสถเป็นโบราณสถานเก่าแก่ พระยาแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์มังรายทรงสร้างไว้ ประมาณ พ.ศ. 1931 - 1954 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาตามลำดับ

4. พระวิหารหลวง เป็นสถาปัตยกรรมลานนา ขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 46 เมตร พระวิหารหลวงหลังเดิมชำรุดทรุดโทรมไปจนไม่สามารถที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ได้ จนถึง พ.ศ. 2467 - 2468 ท่านครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย ร่วมกับ พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9 ร่วมกับประชาชนทุกหมู่เหล่า ร่วมกันสร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิม

5. พระวิหารลายคำ เป็นสถาปัตยกรรมลานนาไทย ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างแต่สมัยราชวงศ์มังราย และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาตามลำดับ

6. หอพระไตรปิฎก พระเจ้ากาวิละ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2354

7. พระมหาเจดีย์ หรือ พระธาตุหลวง สูง 25 วา ฐานสี่เหลี่ยมยาวด้านละ 16 วา 1 ศอก 6 นิ้ว พระเจ้าผายูโปรดให้สร้างขึ้น พ.ศ. 1888 และครูบาศรีวิชัยได้บูรณปฏิสังขรณ์ใน พ.ศ. 2469

8. กู่ลาย ตั้งอยู่หลังพระวิหารลายคำ เป็นเจดีย์ทรงปราสาท มี 5 ยอด มีทางเชื่อมจากผนังด้านหลังพระวิหารลายคำเข้าสู่อุโมงค์ของกู่ลาย เป็นสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของลานนา

9. กู่อัฐิพระยาคำฟู พระเจ้าผายู พระราชโอรส ได้นำพระอัฐิและพระอังคารมาบรรจุไว้ที่บริเวณนี้ เมื่อ พ.ศ. 1888 และเพื่อไม่ให้เป็นเสียเวลาจึงทรงโปรดสถาปนาพระอารามนี้ขึ้นด้วย

10. พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือพระวิหารพระนอน สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2094 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาเป็นลำดับ

11. หอพระไตรปิฏกหลังใหม่ ตั้งอยู่ใกล้พระเจดีย์ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2469 สร้างในสมัยของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้บริจาคทรัพย์ในการก่อสร้างคือ หลวงอนุสารสุนทร และนางอนุสาน ชัวย่งเสง

12. ศาลาสมเด็จกิตติโสภณ เป็นอาคารทรงไทย กว้าง 5 วา 2 ศอก ยาว 10 วา 2 ศอก สูง 6 วา สร้าง พ.ศ. 2492 โดยทุนเริ่มต้นจากการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน โดยการนำของ เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ปลด กิตฺติโสภณมหาเถร ป.ธ. 9) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และศาลาหลังนี้สร้างเป็นอนุสรณ์ของสมเด็จพระสังราช พระองค์นี้ด้วย

13. ศาลาสหัส - หงส์ มหาคุณ อนุสรณ์ เป็นศาลาทรงไทย 2 ชั้น กว้าง 13 เมตร ยาว 38 เมตร สูง 22 เมตร สร้าง พ.ศ. 2513 ด้วยเงินบริจาคของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด

14. อาคารพระธรรมสิทธาจารย์ เป็นอาคารรูปตัวแอล (L) สูง 5 ชั้น กว้าง 11 เมตร ยาว 76 เมตร พระเดชพระคุณ พระธรรมสิทธาจารย์ ร่วมกับคณะศรัทธาประชาชนร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2539

15. โรงเรียนธรรมราชศึกษา เป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 โดยพระเดชพระคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว ป.ธ. 6) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมราชานุวัตร เป็นองค์ผู้ก่อตั้ง ปัจจุบันมีอาคารเรียน 3 หลัง และมีอาคารห้องสมุด 1 หลัง และโรงอาหาร 1 หลัง